วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558


                                   ความสำคัญของการเรียนรู้



อัชรอฟ โต๊ะซอ
                  ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า ความรู้นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับทุกๆคน เพราะถ้าใครมีความรู้มาก..ก็จะได้เปรียบในทุกๆเรื่อง เราจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นวิชาทางด้านสามัญ หรือ ในวิชาการทางด้านศาสนา

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542:77) 
                 ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต หรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นคนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน 
(http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm
              ได้รวบรวมและกล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้ สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

    สรุป
            จากความสำคัญของการเรียนรู้ที่ได้รวบรวมมาสรุปได้ว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ที่มา :
อัชรอฟ โต๊ะซอ. [online]
(http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=50&id=2520)
           ความสำคัญของการศึกษาเข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย. 58.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิสิธ์พัฒนา.
เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน. [online]                       (http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm)องค์การแห่งการเรียน          รู้. เข้าถึงเมื่อ  25 มิ.ย. 58.




วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558


                                                           

                                       ความหมายของการเรียนรู้



ประดินันท์ อุปรมัย (2540:121)
                  ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า  การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม


คิมเบิล (http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Process.htm)
                 ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า  การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพแห่งพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกหรือการปฏิบัติที่ได้รับ การเสริมแรง (Learning as a relatively permanent change in behavioral potentiality that occurs as a result of reinforced practice)  จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นแยกกล่าวเป็นประเด็นสำคัญได้ ๕ ประการ คือ
๑ การที่กำหนดว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็แสดงว่าผลที่เกิดจากการเรียนรู้ จะต้องอยู่ใน รูปของพฤติกรรม ที่สังเกตได้ หลังจากเกิดการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถทำสิ่งหรือเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อนการเรียนรู้นั้น
๒ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวร นั่นก็คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น จะไม่เป็นพฤติกรรมในช่วงสั้น หรือเพียงชั่วครู่ และในขณะเดียวกันก็ ไม่ใช่พฤติกรรมที่คงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
๓ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใด แต่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (Potential) ที่จะกระทำ สิ่งต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลง ศักยภาพนี้อาจแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งอาจจะยังไม่ได้แสดงออกมา เป็นพฤติกรรมอย่าง ทันทีทันใดก็ได้๔ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพในตัวผู้เรียนนั้นจะเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือศักยภาพอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นไม่ถือเป็นการเรียนรู้๕ ประสบการณ์หรือการฝึกต้องเป็นการฝึกหรือปฏิบัติที่ได้รับการเสริมแรง (Reinforced practice) หมายความว่า เพียงแต่ผู้เรียนได้ รับรางวัลหลังจากที่ตอบสนอง ก็จะให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในแง่นี้คำว่า "รางวัล" กับ "ตัวเสริมแรง" (Reinforce) จะให้ความหมายเดียวกัน ต่างก็คือหมายถึงอะไรบางอย่างที่อินทรีย์ (บุคคล) ต้องการ


ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์ (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html)
                   ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า  การเรียนรู้ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และการฝึก ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เกิดจากการตอบสนองตามสัญชาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี หรือปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติของมนุษย์ 

                   จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นจึงสรุปได้ว่า  การเรียนรู้หมายถึงการได้รับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การได้รับการฝึกฝนหรือการปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆค่อนข้างถาวร แต่ทั้งนี้การตอบสนองโดยสัญขาตญาณ ฤทธิ์ของยา หรือสารเคมี รวมไปถึงปฏิกริยาสะท้อนตามธรรมชาติไม่นับเป็นการเรียนรู้

ที่มา :
ประดินันท์ อุปรมัย. (2540). ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้). (พิมพ์ครั้งที่ 15).             นนทบุรี.
คิมเบิล. [OnLine] (http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Process.htm).              กระบวนการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17 มิ.ย. 2558.
ฮิลการ์ด และ เบาเวอร์. [OnLine]                                                
             (http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html). จิตวิทยา                การเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 17 มิ.ย. 2558.